โต๊ะแยกแร่แบบเปียก


โต๊ะแยกแร่แบบนีเป็นที่นิยมใช้กันมาก และมีทั้งของที่ผลิตในประเทศมักจะแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือโต๊ะแยกแร่เม็ดหยาบ (Sand Table) และโต๊ะแยกแร่เม็ดละเอียด (Slim Table) โต๊ะแยกแร่เม็ดหยาบ มีจำนวนลูกขั้นมาก และชิดกันมากกว่าโต๊ะที่ใช้กับแร่ละเอียดจำนวนความเร็วของช่วงชักก็ช้ากว่าโต๊ะแยกแร่ละเอียด

ส่วนสำคัญของโต๊ะแยกแร่แบบเปียก


  •      พื้นโต๊ะ 
ปกติทำด้วยไม้ และปูพืนด้วยยางหรือยาง Linoleum เฉพาะของยี่ห้อโฮลแมน (Holman)
ทำด้วยไฟเบอร์กลาส (Fiber-Glass Deck) บนพืนโต๊ะที่ปูยาง โดยปกติจะตอกไม้ขั (Riffle) เอียงไปตามแนวยางของโต๊ะ โดยมีความหนาตอนต้นทางด้านปล่อยแร่และค่อย ๆ บางตอนปลาย บางตอนที*บางมาก อาจใช้แผ่นทองแดงบาง ๆ ตอกแทนไม้ลูกขั้นที่กล่าวถึงลูกขั้นอันบน ๆ จะสั้นกว่าลูกขั้นอันถัดลงมาเล็กน้อย และมีความยาวเพิ่มขึ้นเรียงลำดับกันลงไป

  •      เครื่องกลไก (Head motion

มีหน้าที่ทำให้โต๊ะมีจังหวะโล้ไปข้างหน้าช้า และโล้กลับโดยเร็วการเคลื่อนของกลไกจะทำให้เม็ดแร่เคลื่อนที่ไปตามแนวยาวของโต๊ะหรือตามแนวเอียงของลูกขั้น (Riffle) แร่หนักจะเคลือนทีได้ไกลกว่าทรายที่เบากว่า

  • โครงเหล็กและส่วนประกอบที่ทำให้โต๊ะเอียงได้ตามมุมต่าง ๆ 


การทำงานของโต๊ะ มีรายละเอียดดังนี้ พื้นโต๊ะตั้งอยู่บนโครงเหล็ก มีกลไกประกอบทำให้สามารถจัดพื้นโต๊ให้เอียง มีความสูงทางด้านรางน้ำและต่ำทางตรงข้าม น้ำจะถูกปล่อยให้ไหลลงตามรางและไหลแผ่ลงพืนโต๊ะ ป้อนแร่ลงในช่องที่ป้อนแร่ มอเตอร์ไฟฟ้าจะขับเครื่องกลไกทำให้โต๊ะเคลื่อนที่ไปข้างหน้าและกระตุกกลับข้างหลังโดยเร็ว เม็ดแร่หนักจะเคลื่อนไปข้างหน้าได้ไกลกว่าเม็ดแร่เบาและทรายจะถูกพัดพาออกมาทางด้านหางแร่ ส่วนแร่หนักหรือหัวแร่จะออกตอนปลายอีกด้านหนึ่งของโต๊ะ น้ำทำหน้าที่เป็นสื่อในการแยกด้วย

  • ความลาดเอียงของโต๊ะแยกแร่จะปรับได้ 2 ทางคือ  

  1. ความลาดเอียงทางด้านข้าง (Side Tilt หรือ Cross Slope) หรือ ด้านกว้างของโต๊ะต้องปรับให้มีการแผ่กระจายของแร่ให้พอดี ถ้าเอียงมากจะป้อนแร่ได้มาก และใช้น้ำมาก แต่แถบของหัวแร่ที่ได้จะแคบ และหัวแร่ที่ได้จะไม่สะอาดเหมาะสำหรับการแยกแร่ขั้นต้น
  2. ความลาดเอียงด้านยาว หรือด้านยาวของโต๊ะ จากจุดที่ป้อนแร่ไปถึงจุดที่หัวแร่ออกโต๊ะที่ทำในประเทศจะไม่สามารถปรับความลาดเอียงตามด้านยาวได้ นอกจากจะใช้การหนุนแท่นหรือฐานยึดโต๊ะ ดังนั้นโต๊ะที่ใช้ในเหมืองแร่ทั่ว ๆ ไป มักจะไม่มีความลาดเอียงของโต๊ะด้านยาวนี้ได้ ควรจะให้ปลายโต๊ะด้านที่หัวแร่ออกมีความสูงกว่าทางด้านแร่ป้อน แร่ที่มีน้ำหนักหรือความถ่วงจำเพาะมากจะสามารถปีนไต่ขึ้นไปได้ ทำให้ผลการแยกดีขึ้น หัวแร่แร่คละ และหางแร่จะแยกออกชัดเจน และป้อนกันการเกิดเป็ นหลุมในช่วงกลางของโต๊ะ ความลาดเอียงที่เหมาะสมจะได้จากการทดลองแต่งแร่


  • จำนวนรอบและช่วงชักของโต๊ะแยกแร่ 
มีความสัมพันธ์กับขนาดของเม็ดแร่กล่าวคือ ถ้าแร่หยาบเหมาะที่จะใช้ช่วงยาว รอบช้า ถ้าเป็นแร่ละเอียดเหมาะที่ใช้ช่วงสั้น รอบเร็ว

จากหลักการที่กล่าวมาแล้ว เราอาจจะจำหลักง่ายๆได้ดังนี้
แร่หยาบ      - ใช้น้ำน้อย    - ป้อนแร่มาก    - ลูกขั้นสูง                      - ช่วงชักยาว     - รอบต่ำ 
แร่ละเอียด    - ใช้น้ำมาก    - ป้อนแร่น้อย    - ลูกขั้นต่ำและห่าง         - ช่วงชักสั้น       - รอบสูง