ทฤษฎี

         การแต่งแร่เม็ดเล็กๆ ด้วยโต๊ะแยกแร่ขึ้นอยู่กับธรรมชาติการไหลของไหลบนพื้นเอียง และความหนืด (Viscosity) ของของไหล ของไหลที่มีความหนืดสูงย่อมทำให้ความเร็วของการไหลบนพื้นเอียงลดลงลักษณะรูปร่างของเม็ดแร่หรือวัตถุที่ใช้แยกย่อมมีผลต่อการแยกด้วย เช่น เม็ดแร่ลูกกลมย่อมไหลไปได้ไกลกว่าเม็ดแร่ที่มีลักษณะแบนหรือเป็นสีเหลี่ยมทฤษฏีที่ถูกนำมาใช้ในการแต่งแร่ด้วยโต๊ะแยกแร่ก็คือ หลักของการทำให้ชั้นน้ (Thin Film) ไหลผ่านลงบนพื้นราบเอียงมีลูกคั่น (Riffle) มีการเคลื่อนไหวกลับไป มา ที่ระยะไม่เท่ากัน (Asymmetric Reciprocating Motion) ด้วยกลไกขับเคลือน (Head Motion)

แสดงการเคลื่อนตัวของแร่บนพื้นโต๊ะ

ความสัมพันธ์ระหว่างความหนาของชันน้ำี่ไหลบนพื้นโต๊ะแยกแร่เขียนได้ดังนี้



เมื่อ
W คือ ปริมาณของของเหลวที่ไหลต่อระยะความยาวต่อวินาทีของของเหลว มีหน่วยเป็น
ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อระยะเซนติเมตรต่อวินาที
θ คือ ความหนาของชั้นของเหลว
Δ คือ ความถ่วงจำเพาะของของเหลว
μ คือ ค่าความหนืด (Viscosity) ของของเหลว
α คือ มุมเอียงของโต๊ะแยกแร่
g คือ อัตราเร่งจากแรงดึงดูดของโลก
และถ้า
 z  คือ ระยะที่แร่จมลงถึงพืนโต๊ะห่างจากจุดเริมต้น
Δ’ คือ ความถ่วงจำเพาะของแร่หรือวัตถุ
r   คือ รัศมีของแร่หรือวัตถุที*จมในของเหลว